วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การนำระบบ OA มาใช้

บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2008, 11:48:02 am »
บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร

บาร์โค้ด (Barcode)
บาร์โค้ด เป็นเทคโนโลยี ที่เริ่มได้รับการยอมรับ มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่อง จาก สามารถตอบสนองความต้องการของ การทำงานได้เป็นอย่างดี ทำให้บาร์โค้ด มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่นใน ซุปเปอร์มาเก็ต ห้างร้าน หรือแม้แต่คลังสินค้าใหญ่ ๆ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การป้อนข้อมูลเข้าไปในระบบ รวดเร็วขึ้น ลดอัตราการป้อนข้อมูลผิดพลาด อันเนื่องจากความผิดพลาดจากผู้ใช้งานเอง สรุปแล้วการติดต่อในวงการธุรกิจ (หรือวงการใด ๆ ก็ตาม) ข่าวสารข้อมูลจะต้องรวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง
บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร
คือ สัญลักษณ์ (Symbol) ที่อยู่ในรูปของแท่ง โดยจะใช้เครื่องอ่าน ที่เรียนว่า Scanner (เครื่องยิงบาร์โค้ด) เป็นตัวอ่านข้อมูล ที่อยู่ในรูปของ รหัสแท่ง เป็นข้อมูล ที่เป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่มนุษย์สามารถเข้าใจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน
ประเภทของบาร์โค้ด
1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้
2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ
2.1 ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชียและแปซิฟิก,ออสเตรเลีย,ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย
2.2 ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีการใช้แพร่หลาย
ประโยชน์ของการติดบาร์โค้ดมาตรฐานสากลกับตัวสินค้า
การนำบาร์โค้ดมาตรฐานสากลมาใช้ในธุรกิจการค้า จะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
1. ลดขั้นตอน และประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อขายสินค้า จะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง คอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์ จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุบาร์โค้ดแสดงข้อมูลสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิต คำนึงถึงการปรับปรุงคุณภาพ สินค้าเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของสินค้า และสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการแสดงข้อมูลสินค้า
4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ การมีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก
เพิ่มประสิทธิภาพในระบบการบริหารจัดการ ซัพพลายเชน โดยการใช้ข้อมูลจากบาร์โค้ดมาตรฐานสากล
5.เพิ่มประสิทธิภาพในระบบการบริหารจัดการ Supply Chain โดยการใช้ข้อมูลจากบาร์โค้ดมาตรฐานสากล ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถได้รับข้อมูลทางการผลิต การค้าได้ทันที และถูกต้องแม่นยำ ทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนบริหารงานด้านการผลิต สินค้าคงคลัง ด้านการขนส่ง การจัดซื้อ และการตลาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ


บรรณานุกรม
www.deelike.com/webboard/index.php?topic=100.0;prev_next=next

ไม่มีความคิดเห็น: